10 มี.ค. 2551

เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ZR1 ในงาน Geneva Motor Show 2008





เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ZR1
ในงาน เจนีวา ม
อเตอร์โชว์

เจนีวา – ซูเปอร์คาร์รุ่นล่าสุด เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ZR1 พร้อมเทคโนโลยีระดับสูง การออกแบบทางวิศวกรรม
ที่ยอดเยี่ยม สำหรับเครื่องยนต์รหัส LS9 ที่ร้อนแรงที่สุดที่จีเอ็มเคยผลิตขึ้นมา เตรียมบุกยุโรปโชว์โฉมในงาน เจนีวา มอเตอร์โชว์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนมีนาคม 2551 นี้

เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ซีอาร์วัน (Chevrolet Corvette ZR1) ซูเปอร์คาร์สุดแรงจากฝั่งอเมริกา เดินทางข้ามทวีปมาฝั่งยุโรป เพื่อเผยโฉมในงาน เจนีวา มอเตอร์โชว์ ในเดือนมีนาคม 2551 นี้ ที่นอกจาก ซีอาร์วัน จะมีรูปลักษณ์ที่ปราดเปรียวสวยสะดุดตาแล้ว ยังใช้เครื่องยนต์อันทรงพลัง บล็อก V8 สูบ ในรหัส LS9 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ร้อนแรงที่สุดเท่าที่ค่าย เจนเนอรัล มอเตอร์ส เคยผลิตขึ้นมา พร้อมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย และความปราณีตทางวิศวกรรมจาก คาร์บอนไฟเบอร์ เซรามิค และระบบไฟฟ้า ที่ซ่อนอยู่รวมกันด้วยการออกแบบที่โดดเด่น
มีเอกลักษณ์

ด้วยการใช้ส่วนประกอบต่างๆ ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อผสมผสานอย่างลงตัว ทำให้ เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์
ซีอาร์วัน เป็นซูเปอร์คาร์ที่ทรงพลังมากที่สุด เร็วแรงที่สุด ตั้งแต่จีเอ็มเคยผลิตมา ซีอาร์วันยังมีสมรรถนะ
ที่โดดเด่น ให้ความนุ่มนวลขณะขับขี่ที่ความเร็วต่ำ แต่กลับมีสมรรถนะอันดุดันร้อนแรงเมื่อต้องการใช้ความเร็ว
ซึ่งข้อมูลด้านสมรรถนะของซูเปอร์คาร์คันนี้จะถูกเปิดเผยออกมาหลังสิ้นปี 2551 นี้
จากการทดสอบเบื้องต้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่า เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ซีอาร์วัน ประกอบขึ้นมาในสไตล์เดียวกันกับ เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ซีซีโร่ซิกซ์ (Chevrolet Corvette Z06) ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีในสมรรถนะ
การขับขี่ทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น อัตราการเร่ง ระบบเบรก ความเกาะถนนขณะเข้าโค้ง หรือความเร็วสูงสุด
คอร์เว็ตต์ ซีอาร์วัน ยังมีอัตราส่วนของกำลังครื่องยนต์ต่อน้ำหนักที่ดีกว่าทั้ง ปอร์เช่ 911 GT2 เฟอร์รารี่ 599 หรือแม้แต่ ลัมบอร์กินี่ LP640 และตามความเป็นจริงแล้ว ซีอาร์วัน ยังได้รับการคาดหมายว่าจะเป็น คอร์เว็ตต์คันแรกที่มีความเร็วสูงสุดถึง 320กม./ชม. ที่ผลิตออกมาวางตลาด แม้ว่าจะมีการจำกัดจำนวนการผลิต แต่ก็ได้รับการคาดหวังว่าจะมีจำหน่ายในตลาดยุโรปในช่วงสิ้นปี 2551 นี้ด้วยเช่นกัน
เครื่องยนต์
เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ซีอาร์วัน ใช้เครื่องยนต์รุ่นใหม่ในรหัส LS9 เป็นเครื่องยนต์บล็อก V8 สูบ ขนาด 6.2 ลิตร ที่ให้กำลังสูงสุดมากถึง 620 แรงม้า และมีแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 807 นิวตันเมตร พร้อมใช้ระบบอัดอากาศซูเปอร์ชาร์ตเจอร์ แบบ 4 ใบพัด ที่มีระบบหล่อเย็นช่วยลดอุณหภูมิของอากาศในห้องเผาไหม้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอันทรงพลังในการแสดงสมรรถนะของ ซีอาร์วัน ซึ่งเครื่องยนต์ LS9 บล็อกนี้ยังใช้การประกอบด้วยมือ โดยประกอบขึ้นที่ ศูนย์การพัฒนาสมรรถนะรถยนต์ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ในเมือง วิกซอม
รัฐมิชิแกน ที่ต้องได้รับความร่วมมือในขั้นตอนการผลิต
ที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตเครื่องยนต์มาตรฐานสูงระดับรถแข่ง ที่ต้องการทั้งความปราณีตและความแม่นยำในการผลิตในระดับสูงสุด
ระบบส่งกำลัง
ระบบส่งกำลังของ ซีอาร์วัน ยังใช้บ็อกซ์เกียร์รุ่นใหม่ เป็นเกียร์ธรรมดา 6 สปีด ที่ใช้คลัตช์แบบ twin-disc ที่ช่วยส่งกำลังของเครื่องยนต์ได้ดีเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันการทำงานของคลัตช์มีประสิทธิภาพต่อเนื่อง และยังค่อยๆ ช่วยลดความร้อนในคลัตช์ได้ดีขึ้น และยืดอายุการใช้งานของคลัตช์ ระบบเกียร์รุ่นใหม่นี้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ ซีอาร์วัน ยังช่วยให้อัตราทดกำลังในเกียร์ 1 สูงขึ้น ทำให้มีอัตราเร่งในการออกตัวที่ยอดเยี่ยม ขณะที่
ยังสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ในเกียร์ 6 แทนที่จะอยู่ในเกียร์ที่ 5 เหมือนในเกียร์ธรรมดาของ คอร์เว็ตต์ ซีซิกซ์ (Corvette C6) และ คอร์เว็ตต์ ซีซีโร่ซิกซ์ (Corvette Z06)
การขับขี่และการควบคุมรถ
คอร์เว็ตต์ ซีอาร์วัน ยังได้รับการออกแบบแชสซีส์
ด้วยอลูมิเนียมที่มีความแข็งแกร่งสูง และใช้ระบบ
ช่วงล่างทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แบบอิสระ SLA (Short-Long Arm) ที่มีแขนดึงควบคุมมุมแคมเบอร์ ขึ้น-ลง (Control Arms) ที่เป็นอลูมิเนียม เหมือนกับใน
คอร์เว็ตต์ ซีซีโรซิกซ์ พร้อมยังติดตั้งระบบควบคุมการเลือกลักษณะของการขับขี่ MSRC (Magnetic Selective Ride Control) ที่ผู้ขับขี่สามารถกดปุ่มควบคุมบนคอนโซลเพื่อปรับลักษณะการขับขี่ที่จะมี
ให้เลือกทั้งในแบบนุ่มนวล หรือกระด้างมากขึ้นในแบบสปอร์ต ระบบนี้ถูกติดตั้งมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ได้รับการปรับแต่งมาโดยเฉพาะสำหรับ เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ซีอาร์วัน ซึ่งระบบจะปรับเปลี่ยนลักษณะการขับขี่ให้อย่างรวดเร็วแบบทันทีทันใด ขณะเดียวกันยังคงให้ความยึดเกาะถนนในการเข้าโค้ง หรือบังคับเลี้ยว ด้วยแรงจี (Gravity Force) ที่มากกว่า 1g ซึ่งมาจากสมรรถนะโดยรวมที่มีมาตรฐานสูง ระบบ MSRC ที่ช่วยตั้งเพลาหลังให้มีความนุ่มนวลขณะออกตัว ไม่มีจังหวะกระตุกขณะเร่งเครื่องยนต์ และระบบนี้ยังช่วยยับยั้งการเคลื่อนตัวของเพลาขณะที่เข้าโค้งบนถนนที่ขรุขระได้อีกด้วย
ระบบเบรก ล้อ และยางรถยนต์
ส่วนระบบเบรกได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับความแรงของเครื่องยนต์ใน ซีอาร์วัน ด้วยการใช้ดิสก์เบรกแบบ คาร์บอน-เซรามิค ที่ทำจากส่วนผสมของ คาร์บอน-ไฟเบอร์ อโลหะเซรามิค จากวัสดุสารประกอบธาตุคาร์บอนที่ให้ความแข็งแกร่ง ซึ่งช่วยลดขนาด น้ำหนัก ต้านทานการสึกหรอและลดความร้อนบนดิสก์เบรกได้ดีขึ้น
ส่วนก้ามจับดิสก์เบรก (Calipers) เป็นแบบ 6-piston ที่ด้านหน้า และ 4-piston ที่ด้านหลัง ซึ่งระบบเบรกนี้ยังสามารถมองเห็นได้ผ่านจากล้ออัลลอยสีเงิน Sterling Silver แบบ 20 ก้าน ขนาด 19 นิ้ว ที่ด้านหน้า และ
20 นิ้ว ที่ด้านหลัง เป็นล้อมาตรฐานของ ซีอาร์วัน ซึ่งยังมีล้อสีโครเมียมเป็นออพชั่นพิเศษอีกด้วย ส่วนยางที่ใช้ เป็นยาง มิชิลิน ไพล็อต สปอร์ตทู โดยด้านหน้าใช้ซีรี่ส์ P285/30-ZR19 และ P335/25-ZR20 ในด้านหลัง
การออกแบบภายนอก
การออกแบบ เชฟโรเลต คอร์เว็ตต์ ซีอาร์วัน ยังมีสไตล์ที่โดดเด่นสะดุดตาอย่างมีระดับ ฝากระโปรงหน้าช่วยลดน้ำหนักตัวถังจากวัสดุคาร์บอน-ไฟเบอร์ทั้งชิ้น ที่ออกแบบอย่างกลมกลืนกับโพลีคาร์บอเนตใสที่เจาะให้เห็นตัวเครื่องยนต์บนฝากระโปรงหน้า แผงซุ้มล้อด้านหน้าใช้วัสดุคาร์บอน-ไฟเบอร์ แบบพิเศษที่เจาะช่องลมระบายความร้อน 2 ช่อง เสริมเอกลักษณ์และความสปอร์ตมากยิ่งขึ้น สปอยเลอร์ด้านหลังขนาดใหญ่เป็นสีเดียวกับ
ตัวรถและถูกออกแบบมาให้มีไฟเบรกดวงที่ 3 ฝังอยู่ในตัวสปอยเลอร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ ซีอาร์วัน และการออกแบบภายนอกของซีอาร์วันทั้งหมดนั้น ไม่ได้เพียงเพื่อความสวยงามแต่ทุกจุดล้วนได้รับการพัฒนามาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมรถขณะที่ใช้ความเร็วสูงสำหรับผู้ขับขี่
การออกแบบภายใน
การออกแบบภายในของ ซีอาร์วันนั้นยังคงรักษาเอกลักษณ์ภายในของคอร์เว็ตต์ในเรื่องของที่นั่งคู่
แบบ dual-cockpit ใช้วัสดุคุณภาพสูง มีความปราณีตในการตัดเย็บ และเปี่ยมด้วยประโยชน์ใช้สอยอย่างเต็มที่เสมอค่ารถสปอร์ตคาร์ ที่มีสมรรถนะสูงชั้นนำ
ของโลก ในห้องโดยสารของ ซีอาร์วันนั้น มีเอกลักษณ์ด้วยการประดับ โลโก้ ZR1 ในหลายๆ ส่วน อาทิ
การปักอย่างปราณีตที่บริเวณตำแหน่งรองศีรษะ