2 มิ.ย. 2550
4WD..ตัวอย่างเทคนิกการขับ หลักสูตรของคุณรวิพล สุวรรณผ่อง
OFF ROAD DRIVING
…..รวิพล สุวรรณผ่อง
****************************************************************************************************************************
(หมายเหตุ.คุณรวิพล จัดคาราวานเที่ยวต่างแดน เช่นเวียตนาม ลาว เขมร พม่า มาหลายครั้ง ส่วนมากจะเป็นผู้ท่ีผ่านการอบรมเทคนิกการขับมาก่อน ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างหลักสูตร ท่านสามารถรับฟังรายการ รายงานยานยนต์ จาก 100.5 เอฟเอ็ม อสมท. เวลา 22-23 น. วันจันทร์-ศุกร เป็นรายการท่ีจัดต่อเนื่องมา 10 แล้วครับ)
****************************************************************************************************************************
การทำงานของระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ Full – Time หรือ All – Time เป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ตลอดเวลา จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่ ด้วยการส่งกำลังไปยังล้อหน้า-หลัง ตามอัตราส่วน ขึ้นอยู่กับค่าแรงเสียดทาน ระหว่างล้อกับพื้นผิวถนน จัดว่าเป็นระบบที่ให้ความปลอดภัยในการขับขี่มากที่สุด ไม่ว่าสภาพเส้นทางจะขรุขระเป็นลูกคลื่น คดเคี้ยว หรือขณะที่ฝนตกถนนลื่น ซึ่งสามารถขับขี่ที่ความเร็วสูงได้
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ Part – Time (Hi) เป็นระบบส่งกำลัง ที่มีเฟืองตัวกลางเป็นตัวล็อก ซึ่งจะทำหน้าที่แบ่งจ่ายกำลังไปสู่เพลาขับด้านหน้า และหลัง ในอัตราส่วน 50 : 50 จะถูกกำหนดคงที่ไว้เท่ากันตลอดการใช้งาน เหมาะสำหรับสภาพการขับขี่บนเส้นทางที่เป็นลูกรังแข็ง หรือเป็นหลุมเป็นบ่อที่ไม่ลึกมาก ซึ่งสามารถใช้ความเร็วปกติได้ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องวงเลี้ยว ที่จะกว้างกว่าปกติ
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ Part – Time (Low) เป็นระบบส่งกำลัง ที่มีอัตราทดสูงกว่าการใช้งานปกติ ให้พลัง และแรงบิดมหาศาล จากเกียร์ไปสู่ล้อหน้า และหลัง 50 : 50 ตลอดการใช้งานเช่นเดียวกัน แต่ไม่ควรใช้ความเร็วเกินกว่า 50 กม./ชม. (เพราะอาจทำให้ระบบส่งกำลังเสียหายได้) เหมาะสำหรับการใช้งานบนเส้นทางทุรกันดาร หลุมบ่อที่ลึก หรือเส้นทางที่มีความชัน มาก ๆ
ข้อแนะนำในการใช้เกียร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ
รถขับเคลื่อน 4 ล้อ แต่ละยี่ห้อ มีสมรรถนะในการใช้งานไม่เหมือนกัน บางรุ่น บางยี่ห้อ มีขีดจำกัดในการใช้งาน เพราะฉะนั้นจะต้องเรียนรู้ว่า รถที่ใช้อยู่นั้นมีประสิทธิภาพแค่ไหน เช่น ประเภทของรถ ประเภทของยางที่ใช้อยู่ หรือแม้แต่กระทั่งสมรรถนะของเครื่องยนต์
1. ตรวจเช็คเครื่องยนต์และของเหลวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำหล่อเย็น น้ำกลั่น และลมยาง
2. พยายามมองอุปสรรคที่ต้องผ่าน ให้ดูยากกว่าความเป็นจริง (เพื่อความไม่ประมาท)
3. เมื่อเจออุปสรรค แต่ไม่แน่ใจว่าจะผ่านไปได้ ก็ให้ลงมาตรวจดูว่า รถของท่านจะสามารถผ่านไปได้หรือไม่ หากจำเป็นต้องฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นไป อุปกรณ์กู้ภัยในรถมีพร้อมหรือไม่ ถ้าไม่พร้อม แนะนำว่าอย่าเสี่ยงให้เสียเวลาดจะดีกว่า
4. ต้องจดจำว่า พาหนะคู่ใจของเรา มีสมรรถนะในการไต่มุมชัน มุมเอียงซ้าย-ขวา มุมปะทะ มุมจาก ได้มากน้อยแค่ไหน อย่าเสี่ยงโดยไม่ประมาณความสามารถ และควรหาเวลาฝึกฝน เพื่อให้เกิดชำนาญ
5. ความเร็วและกำลังเครื่องยนต์ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการขับรถออฟโรดบนทางวิบาก ความเร็วช้าที่เกียร์ต่ำ ก็สามารถผ่านพ้นอุปสรรคได้
6. เมื่อคาดว่าจะต้องเจออุปสรรค ควรจะเข้าระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ (เร็ว) ไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อฉุกเฉิน จะได้แก้ไขอุปสรรคได้
7. สำหรับรถเกียร์ธรรมดา เวลาขับผ่านอุปสรรค ไม่ควรวางเท้าไว้ที่คลัทช์ ควรใช้ คลัทช์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น เวลาออกรถ หยุดรถ ช่วงเปลี่ยนเกียร์ ถอยหลัง กลับรถ และในช่วงที่คับขัน
8. การสตาร์ทเครื่องยนต์ขณะอยู่ในเกียร์ ท่านสามารถกดคันเร่งได้เล็กน้อย เมื่อ จำเป็น
วิธีปฏิบัติตนก่อนการขับขี่รถ 4x4 อย่างปลอดภัย
การขับขี่อย่างปลอดภัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับรถ 4x4 ทุกครั้งที่นั่งหลังพวงมาลัย ก่อนที่รถจะเคลื่อนตัวออกไป สิ่งที่จะต้องปฏิบัติ คือ
1. คาดเข็มขัดนิรภัย ที่นั่งหลังพวงมาลัย
2. ปรับเบาะให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับสรีระของตัวเอง
3. ปรับกระจกมองข้าง และกระจกมองหลัง
4. ปรับระดับพวงมาลัย
เทคนิคการขับขี่รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เบื้องต้น
การเร่งเครื่องยนต์
1. ควรใช้รอบเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สัมพันธ์กับเกียร์ ทำให้สามารควบคุมการขับขี่ได้ดี เกิดความนุ่มนวล และรักษาความเร้วได้ตามต้องการ
2. ไม่ใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงเกินความจำเป็น หรือเร่งรอบเครื่องยนต์แรงเกินไป อาจทำให้ล้อหมุนฟรี จนเสียการควบคุมล้อได้
3. การถอนคันเร่งเบา ๆ ช่วยให้รถลดความเร็วลงอย่างนุ่มนวล
การใช้เบรก
1. หากเป็น เกียร์อัตโนมัติ หากต้องการชะลอความเร็ว โดยไม่ถอนคันเร่ง ให้หัดฝึกใช้เบรกด้วยเท้าซ้ายเหยียบแป้นเบรกแทนเท้าขวา (เกียร์ธรรมดาให้ใช้เหมือนเดิม)
2. สามารถใช้เบรกขณะลงเนินได้
3. ขณะขับขี่อยู่บนทางอุปสรรค ควรใช้เบรกด้วยปลายเท้าซ้าย เพื่อการขับขี่ที่ง่ายขึ้น
4. พยายามใช้เบรกอย่างนุ่มนวล เพื่อป้องกันการลื่นไถล
5. ไม่ควรแตะเบรกนานจนเกินไป เพราะอาจทำให้เบรกเสื่อมประสิทธิภาพเร็ว ควรแตะเบรกที่ละน้อย เพื่อการ
ควบคุมอย่างนุ่มนวล
6. ถ้าเป็น เกียร์ธรรมดา ไม่ควรใช้เบรกขณะลงเนินชัน
7. ไม่ควรวางเท้าอยู่บนแป้นเบรกตลอดเวลา
8. ควรเช็คเบรกทุกครั้ง เมื่อวิ่งผ่านระดับน้ำที่สูงกว่าดีสก์และดรัมเบรก
การจับพวงมาลัย
1. ให้วางมืออยู่ในตำแหน่ง สิบนาฬิกากับสองนาฬิกา หรือเก้านาฬิกาแลกับสามนาฬิกา
2. ควรใหนิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนขอบนอกของวงพวงมาลัย
3. ควรหลีกเลี่ยง การโยกพวงมาลัยกลับไป-กลับมา
4. ไม่ควรหักพวงมาลัยมากจนเกินความจำเป็น เพราะอาจจะหลงไลน์ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาการบังคับทิศทางของรถ
5. การควบคุมพวงมาลัย พยายามหมุนพวงมาลัยแบบวิธีสาว ในลักษณะรับ-ส่ง โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือทั้งสอง ต้องไม่อยู่ในวงพวงมาลัย เพราะในขณะขับขี่อยู่บนทางวิบาก โอกาสที่พวงมาลัยจะสะบัดโดนนิ้วหัก มีค่อนข้างสูง
วิธีที่ดีที่สุด : ผู้ขับควรกำหนดเส้นทางไว้ล่วงหน้า หรือ ให้ดูตามสัญญาณมือของผู้บอก
ไลน์ จะได้ทราบถึงปัญหา และอุปสรรค เพื่อการแก้ไขอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
ที่กล่าวมาข้างต้น นับเป็นพื้นฐานเท่านั้น ยังต้องอาศัยการเรียนรู้ และจำต้องสั่งสมประสบการณ์ใหม่อยู่เรื่อย ๆ
แต่ที่สำคัญที่สุด ช่วงเวลาที่อยู่หลังพวงมาลัย คือ การขับรถอย่างไม่ประมาท และรู้จักประมาณกำลังของรถ
การขับรถ 4x4 ในสนามทดสอบ
การขับขึ้น-ลงเนิน
1. ควรขับรถขึ้นไปตามแนวตรง
2. ใช้เกียร์ต่ำ ทั้งเกียร์ปกติ และเกียร์ 4 WD (4L)
3. ไม่ควรขับรถปีนไปตามแนวบนทางลาด เพราะอาจทำให้รถลื่นไถลลงมาได้
4. เดินรอบเครื่องยนต์นิ่ง ๆ อย่าเร่งเครื่องอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้ล้อหมุนฟรีบนเนิน หรือลื่นไถล จนม่สามารถบังคับรถได้ขณะขับรถลงเนินเกียร์ธรรมดาไม่ควรใช้เบรกโดยไม่จำเป็น ให้ใช้การเปลี่ยนเกียร์ เป็นเกียร์ต่ำแทน
การขับผ่านเนินเอียงซ้าย-ขวา
1. รักษารอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ
2. วางตำแหน่งล้อให้ถูกต้อง โดยการควบคุมพวงมาลัยให้อยู่ในทิศทาง
3. ค่อย ๆ ขับผ่านไปอย่างช้า ๆ
การขับข้ามขอนไม้
1. ใช้เกียร์ต่ำ ทั้งเกียร์ปกติ และเกียร์ 4WD
2. สำหรับเกียร์อัตโนมัติ ให้ใช้เท้าซ้ายแตะเบรก เพื่อช่วยควบคุมความเร็ว
3. สว่นเกียร์ธรรมดา ให้ใช้เท้าขวา แปะติดผนังด้านขวา เพื่อช่วยให้การกดคันเร่งได้นิ่มนวลมากขึ้น
4. พยายามรักษารอบเครื่องยนต์ให้คงที่
การขับผ่านสะพานซุง
1. ควรตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่า สะพานแข็งแรงพอหรือไม่
2. กะระยะความกว้างของฐานล้อ ให้พอดีกับสะพานซุง
3. ค่อย ๆ ขับผ่านสะพานซุงไปอย่างช้า ๆ และรักษารอบเครื่องยนต์ให้คงที่
การขับผ่านทางโคลน
1. ให้ใช้เกียร์เกียร์ต่ำ และพยายามรักษารอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดแรงเสียดทานเสมอ
2. หากรู้สึกว่ารถเริ่มติดหล่ม ให้พยายามหมุนพวงมาลัยไปทางซ้าย-ขวา เพื่อให้ยางจับดินโคลนใหม่ ๆ
3. อย่าเร่งเครื่องยนต์ให้รอบสูงมากเกินไป เพราะอาจทำให้ยางยิ่งจมลงในโคลนมากขึ้น
การขับผ่านทางหิน
1. ให้ใช้เกียร์ต่ำ และเลือกใช้เกียร์ 4WD ให้เหมาะสม
2. พยายามบังคับล้อให้ปีนป่ายก้อนหินอย่างช้า ๆ และต่อเนื่องให้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องรถกระแทกกับหิน
3. หลีกเลี่ยงการขับคร่อมก้อนหินเด็ดขาด เพราะระบบส่งกำลังของเพลากลาง อาจเสียหายได้
การขับผ่านน้ำ
1. ขณะขับลงน้ำ ให้ค่อย ๆ ลง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าห้องเครื่องมากเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์ดับและเสียหายได้
2. การขับผ่านลำธารน้ำ ให้ขับช้า ๆ หากขับเร็วเครื่องยนต์อาจดับกลางน้ำ เพราะจะทำให้น้ำถูกดูดเข้าทางท่อไอเสียได้
3. พยายามบังคับทิศทางของตัวรถให้ทำมุม 90 องศากับผิวน้ำ
เตรียมมรถก่อนการออกเดินทางในสภาพเส้นทางทุรกันดาร
ควรตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์และระบบการทำงานต่าง ๆ อาทิ
1. ระบบส่งกำลัง ทั้งเกียร์ปกติ และเกียร์ 4 WD
2. น้ำมันเกียร์ ควรมีสำรองไว้ในรถ
3. ระบบช่วงล่าง และระบบกันสะเทือน
4. ระบบห้ามล้อ
5. ลมยาง และล้ออะไหล่
6. ระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่าง ๆ
7. ระบบหล่อเย็น หม้อน้ำ และเครื่องยนต์
8. ที่ปัดน้ำฝน และน้ำล้าง
9. น้ำมันเพาเวอร์พวงมาลัย (ควรมีเตรียมไว้ในรถ)
10. อุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ ไฮลิฟแจ็ค, วินช์, สแน็บบล็อก, สายพานลากกระตุก, พ่วงแข็ง ถ้ามีจะเป็นประโยชน์มากสำหรับรถ 4 WD และสำหรับผู้ที่รักการเดินทาง ตลอดจนนักผจญภัย
****************************************************************************************************************************
หมายเหตุ. ภาพประกอบเรื่องเมื่อไปทดสอบฟอร์ดเรนเจอร์ ใหม่ ท่ีเกาะสมุย ผมเป็นบัดดี้คู่กับคุณรวิพล สุวรรณผ่อง จึงแอบถ่ายภาพชุดนี้ไว้ใช้ ก็ได้ใช้จริง ๆ สำหรับท่านท่ีสนใจจะฝึก เพื่อนผมเปิดเป็นพัก ๆ ลองติดตามในรายการวิทยุของเขาท่ี 100.5 เอฟเอ็ม อสมท. 22.00 น.-23.00 น. วันจันทร์-วันศุกร