10 มิ.ย. 2550
สกลนครเมืองวัดป่า บนเส้นทางหลากไตล์กับ ISUZU D-MAX CAB 4 Ddi 4WD 3000 ซีซี
ไปสกลนคร กลับมาแล้วเมื่อตีหนึ่งวันนี้ 9 มิ.ย. 2550 โดยเดินทางกันขาไป 4 คน กลับ 4 คน ขากลับมาพร้อมกับนักกิจกรรมของสกลนคร คุณพารวย เติมไตรรัตน์ พรรคพวกของเราคนหนึ่งต้องกลับก่อน (จึงมีผู้โดยสารเท่าเดิม) เพื่อไปแข่งครอสครันทรีท่ีแพร่ ก็คือคุณสมเกียรติ น้อยจาด เนวิเกเตอร์ระดับประเทศท่ีเป็นทีมงานในนิตยสารท่ีผมทำเขากำลังลุ้นอันดับอยู่ เป็นสนามท่ีแพร่ อีกสองวันคงรู้ผล
ISUZU D-MAX Cab 4 Ddi 3000 ซีซี 4WD เครื่องยนต์ 4JJ1-TC 3000 Ddi ทวินแคม 16 วาล์ว เทอร์โบ อินเตอร์คูลเล่อร์ 146 แรงม้า ท่ี 3600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 294 นิวตัน-เมตร ต่อเนื่องท่ีรอบตั้งแต่ 1400-3400 รอบ/นาที ทำให้ขับขี่ได้ทันใจ เร่งนิดหน่อยก็พุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
ทริปนี้ใช้รถเกียร์ธรรมดา 5 สปีด (พร้อมระบบปรับเปลี่ยนเป็นขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4 ล้อ ทั้ง 4H/4L หรือ 2H แบบกดปุ่,กดเปลี่ยนท่ีแผงคอนโซล หน้าปัด อันทันสมัย touch-on-the-fly ไม่ต้องมีคันเกียร์เล็ก ๆ แบบ 4WD รุ่นโบราณอีกต่อไป) ท่ีเราใช้เป็นยานไป-กลับ พร้อมสำรวจแหล่งธรรมท่ีนั่นกว่า 10 แห่ง รามระยะทางทั้งสิ้นเฉียด 2 พัน กิโลเมตร
สามารถสรุปอัตราควาามสิ้นเปลืองแบบเดินทางเร่งด่วนขาไป ความเร็วเฉลี่ย 130 กม./ชม. หลายช่วง 150-170 กม./ชม. ได้ 9.6 กิโลเมตร/ลิตร และขากลับ แบบสบาย ๆ ความเร็วเฉลี่ย 100 กม./ชม. 10.2 กิโลเมตร/ลิตร
ขาไปไปทางขอนแก่น แล้วมุ่งทางราบสู่อุดรธานี แล้วเข้าสกลนคร ขากลับ ใช้เส้นทางกาฬสินธุ์ บ้านไผ่ ไม่เข้าขอนแก่น แต่ผ่านเส้นทางโค้งเขาย่านภูพาน เพื่อสัมผัสบรรยากาศการขับแบบสนุกสนานโค้งไปมาท่ามกลางถนนร่มรื่นสวยงามมาก
หลังจากแถลงข่าวท่ีโรงแรมอิมพีเรียล กับชมรม"@car DRIVER Club" ของสกลนคร และท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่ีจะจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้ส่งไปให้เด็ก ๆ ภาคใต้ใน ชื่อรายการ "ไทสกล สู่ไทยใต้" ในวันท่ี 28-29 ก.ค.2550 นิตยสาร ท่ีผมทำงานจะเป็นผู้จัดกิจกรรมแฟมิลี แรลลี่ และการประกวดเครื่องเสียงรถยนต์
ผมเองจะทำหน้าท่ีตัดสินเกี่ยวกับการติดตั้งระบบซาวด์คอนเซพท์
ส่วนการแข่งแบบเสียงดี และเสียงดังจะมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผุู้ตัดสิน
แรลลี่ที่จะจัดเป็นการเที่ยวแบบดิสคัพเวอรรี่ สกลนคร ในมาดเที่ยว 9 วัด โดยเฉพาะท่ี อ.ส่องดาว ท่ีสังเวชนียสถาน 4 ตำบลจำลอง อยู่บนเขาสวยงามมาก มีเมืองส่องดาวอยู่ด้านล่าง ระดับสูงกว่า 6 ร้อยเมตรเหนือระดับน้ำทะเล
มองลงไปเหมือนสวรรค์ดังเพลง ส่องสาว ท่ีไพเราะนั่นเอง
รายละเอียดจะทะยอยรายงาน เรื่องมันยาวครับ จะรายงานถึงสภาวะการตลาดรถยนต์ท่ีนั่นคร่าว ๆ ด้วยครับ
************************************************************
(ต่อ) วันอาทิตย์ ท่ี 10 มิ.ย.2550 เวลา 06.16 น.
อีซูซุ รุ่นนี้กับรุ่นท่ีไปทริปแปดริ้ว คนละรุ่นกัน แม้เป็นขับเคลื่อน 4 ล้อ 4 ประตู รุ่นท่ีไปแปดริ้ว-พัทยา เป็นรุ่นท่ีใช้เครื่อง 4JJ1-TCK 3000 Ddi VGS Turbo ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุด โดยใช้ชุดเทอร์โบพิเศษแบบแปรผัน VGS Turbo รุ่น RHV5 เป้นเทคโนโลยีล่าสุด โดยได้ออกแบบชุดควบคุมกลไกปรับทิศทางไอเสียแบบ Central-mounted Actuator โดยให้อยู่กึ่งกลางระหว่างใบพัดเทอร์โบสองข้าง มีระบบแวกกั่ม ควบคุมด้วยไฟฟ้า ทำให้ตอบสนองได้แม่นยำ รวดเร็ว มีน้ำหนักเบา ทนทานกว่า มีครีบขนาดใหญ่ทำให้สามารถสร้างแรงอัดอากาศได้มากกว่า สามารถเร่งได้สะใจตั้งแต่รอบต่ำ ๆ ขึ้นไป หรือไม่ต้องรอรอบ
VGS Turbo (Vriabvle Geometry System Turbo) เป็นชุดเทอร์โบพิเศษท่ีมีใบปรับทิศทางไอเสียแบบแปรผันได้ สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางไอเสียท่ีพ่นออกมาปะทะกับใบพัดเทอร์โบได้ดีในทุกระดับความเร็วรอบเครื่องยนต์ ทำให้สามารถอัดอากาศผ่านอินเตอร์คูลเลอร์สู่ห้องเผาไหม้ได้มากตั้งแต่รอบต่ำ ๆ จึงทำให้ขับสนุก ไม่รอรอบ
เครื่องตัวนี้แรงถึง 163 แรงม้า ท่ี 3600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 360 นิวตัน-เมตร ท่ี 1800-2800 รอบ/นาที ในรุ่นเกียร์ธรรมดา และ 333 นิวตัน-เมตร ท่ี 1600-3200 รอบ/นาที ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติ
ตอนไปแปดริ้วจะเห็นว่ามีสกูปดักลมท่ีฝากระโปรงหน้า แต่ รุ่น ท่ีไปสกลนคร ไม่มี และแรงน้อยกว่า จึง ไปได้ ระดับ 170 กม/ชม.ในช่วงถนนว่าง ไม่ได้ทะลุ 180-190 กม./ชม. อย่างในรุ่นเทอร์โบแปรผัน
ซึ่งอย่างไรเสียการขับแม้จะด้อยกว่า ไม่พุ่งพรวดพราดตั้งแต่รอบต่ำ ก้สามารถเดินทางได้อย่างเพลิดเพลิน
หากเป็นเกียร์อัตโนมัติก็จะเพลินหนักในทางราบ หรือแม้แต่ทางออฟโรด เนื่องจากการทำงานของทอร์คคอนเวอร์ตเตอร์จะเพิ่มความมั่นคงของรอบเครื่องยนต์ในขณะฝ่าเส้นทางขรุขระ เครื่องจะไม่กระตุกกระชากจากแรงสั่นสะเทือน ทำให้เท้าขวาไม่นิ่ง
รุ่นท่ีนำไปสกลนครเป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ขณะเดินทางราบ ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์บ่อย ๆ ไปเกียร์ 5 ตลอด
เนื่องจากขับรถประจำวันใช้รถเกียร์ออโต้ จึงเผลอทำเครื่องดับตรงสี่แยกครั้งหนึ่ง เพราะลืมเหยียบคลัทช์
ช่วงล่างในรุ่น ขับเคลื่อน 4 ล้อ 4 ประตู ทั้งหมด ใช้ช่วงล่างแบบนิ่มนุ่มนวล เลียนแบบรถนั่นชั้นดี เรียกว่า ช่วงล่าง แบบเฟล็กซ์-พลัส" ใช้โช้คอัพแก๊สทั้ง 4 ล้อ ช่วงล่างหลังคานแข็งก็จริง แต่ระบบแหนบใช้แบบนุ่ม เมื่อผสานกับระบบช่วงล่างหน้าอิสระ ทอร์ชั่นบาร์ ในรุ่น แค็บโฟร์ LS ท่ีเราใช้ในทริปสกลนครนี้
ส่วนรุ่นแค็บโฟร์ SLX,SXและSL ใช้ปีกนก 2 ชั้น สปริงขด ท่ีีบึกบึนทนทางสไตล์อีซูซุเขาละ
ผู้โดยสารทุกคนสงสัยว่ารถ ขับเคลื่อน 4 ล้อ ทำไมจึงนิ่มนวลมากมายขนาดนี้ ก็ได้ตอบไปว่าเขาออกแบบมาเพื่อเป็นรถครอบครัว แบบรถนั่ง มีมาดเลียนแบบรถนั่งหรู ๆ ดี ๆ นี่เอง
การขับท่ีความเร็วสูงมาก ๆ 160-170 กม./ชม. ช่วงล่างแบบนี้จะโคลงเล็กน้อย แต่เมื่อคุ้นเคยจะไม่มีปัญหา
ท่ีโคลงก็เนื่องจากความสูงใต้ท้องเป็นสไตล์รถออฟโรด แต่สมรรถนะเครื่องยนต์เป็นสปอร์ตตี้ จึงต้องแบ่งเวลา แบ่งสมาธิกับการขับให้ดี ๆ เพื่อการเดินทางท่ีปลอดภัยก็สักไม่เกิน 140 กม./ชม.ก็พอครับ
ขนาดระวังยังเผลอโดนตำรวจทางหลวงเรียกเตือนว่าขับเร็วมาแล้ว ท่ีกาฬสินธุ์
ก็ขอโทษเขาท่ีเผลอไผลไป ด้วยความนุ่มแต่เร่งทันใจ และคุยเรื่องการเมืองยุคนี้กันเพลินไปหน่อย !!