4 มิ.ย. 2550

อีโคคาร์ หรือรถแห่งชาติ เมื่อไหร่จะเกิด ?






ความคืบหน้าของโครงการ อีโคคาร์ วันนี้ 4 มิถุนายน 2550 มีข่าวออกมา ทำท่าขึงขัง ดังนี้

กระทรวงการคลังสรุปอัตราจัดเก็บภาษีอีโคคาร์เสนอ โฆสิต พบกันครึ่งทางกับผู้ประกอบการที่ 17% ก่อนเสนอเข้าที่ประชุม ครม.อังคาร ท่ี 5 มิถุนายน 2550 นี้ เผยคุณสมบัติมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่ต่ำกว่า 25 กิโลเมตรต่อลิตร ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1500 ซีซี และปล่อยไอเสียไม่เกินมาตรฐานมลพิษระดับยูโร 4

ข่าวแจ้งว่า กรมสรรพสามิตได้ข้อสรุปอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ โดยกรมสรรพสามิตได้กำหนดอัตราจัดเก็บไว้ที่ 17% ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสมและได้ประโยชน์ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการและในเรื่องโครงสร้างการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตเอง

ขณะนี้อัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ดังกล่าวกระทรวงการคลังได้นำส่งให้กับนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2550 เพื่อให้ ครม.มีมติเห็นชอบกับอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ดังกล่าว

ตอนนี้เรื่องได้ส่งถึงรองนายกฯ โฆสิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกรมสรรพสามิตได้เสนออัตราจัดเก็บภาษีที่อัตรา 17% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่มีความเหมาะสม ซึ่งในวันนี้จะมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อหาข้อสรุปครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อขออนุมัติต่อไป” แหล่งข่าวกล่าวและว่า คุณสมบัติในเบื้องต้นที่กระทรวงการคลังได้กำหนดสำหรับการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน โดยมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่ต่ำกว่า 25 กิโลเมตรต่อลิตร ขนาดของเครื่องยนต์ไม่เกิน 1500 ซีซี และปล่อยไอเสียไม่เกินมาตรฐานมลพิษระดับยูโร 4 เป็นต้น

คุณสมบัติดังกล่าวใกล้เคียงกับที่ประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติสนับสนุนโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานในประเทศไทย โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ใหญ่ๆ สำหรับบริษัทรถยนต์ที่สนใจจะขอรับการส่งเสริมการลงทุนไว้ 3 ประการ คือ

1. ผู้ผลิตต้องเสนอแผนงานชัดเจน ประกอบด้วยโครงการประกอบรถยนต์ ผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์

2. ต้องเสนอแผนการลงทุนการผลิตระยะยาว 5 ปี โดยตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ต้องมีปริมาณผลิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนคัน/ปีและ

3. ต้องเป็นรถที่มีคุณสมบัติประหยัดพลังงาน โดยมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 ก.ม. ปล่อยไอเสียไม่เกินมาตรฐานมลพิษระดับยูโร 4 และได้มาตรฐานความปลอดภัย ตามเกณฑ์ของ UNECE (United Nations Economic Commission for Europe)

ทั้งนี้ การกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถอีโคคาร์ มาจากเหตุผล 3 ประการ ด้วยแนวคิดที่ขัดแย้งกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และผู้ประกอบการหรือค่ายรถยนต์ต่างๆ คือ หนึ่ง ผลกระทบต่อรายได้จากการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล สอง กระทบตลาดรถยนต์นั่งบี-เซ็กเมนท์ และสาม นโยบายที่รัฐบาลต้องการสร้างโปรดักส์แชมเปี้ยนเพื่อการส่งออก คือ อีโคคาร์ โดยเก็บภาษีต่ำเพื่อ

อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมครั้งล่าสุดเพื่อหาข้อสรุปภาษีสรรพสามิตรถอีโอคาร์ นายฉลองภพ กล่าวไว้ว่า จะดำเนินการบนหลักการที่ไม่กระทบต่อสินค้าเดิมที่ผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายอยู่ นอกจากนี้ มาตรฐานการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ตามข้อกำหนดของบีโอไอ ยังเป็นอีกหนึ่งในข้อจำกัดของเรื่องนี้ เนื่องจากหลายฝ่ายไม่มั่นใจว่าจะมีผู้ผลิตรถยนต์ได้ตามมาตรฐานดังกล่าวจริงหรือไม่

ซึ่งนอกจากจะมีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานสำหรับชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตหรือประกอบขึ้นเป็นรถยนต์อย่างเข้มงวดแล้ว ยังได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการถูกชนในลักษณะต่างๆ เช่น การชนด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ตลอดจนการพลิกคว่ำของตัวรถด้วย

โครงการดังกล่าวรัฐบาลพยายามผลักดันให้ภาคเอกชนขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาคเอกชน เพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากเป็นความคาดหวังว่าหากค่ายรถยนต์ตัดสินใจลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูงถึง 10,000 ล้านบาท ในการเปลี่ยนสายพานการผลิตที่มีอยู่เดิม และต้องใช้เม็ดเงินลงทุนถึง 20, 000 ล้านบาท ในการเปิดโรงงานใหม่.


***********************************************************************************************************************************

ความเดิม ความเชื่อเดิม ขชองชาวบ้านเกี่ยวกับอีโคคาร์

แนวโน้มรถแห่งชาติ เมือไหร่จะเกิด ใครจะเป็นผู้ทำคลอด ?

รถแห่งชาติหรืออีโคคาร์ รัฐบาลที่ผ่านมาตั้งใจว่าจะให้เป็นรถขนาดจิ๋ว เครื่องยนต์เล็ก ๆ กินน้ำมันน้อย ๆ ขณะนี้กำลังระอุความคิดขึ้นมาจนหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์ในไทยออกมาบ่นเรื่องภาษีบ้าง เรื่องอื่น ๆ บ้าง

ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่มีบริษัทไหนอยากร่วมมือด้วย เนื่องจากพวกเขามีรถทุกขนาดยู่แล้ว จู่ ๆ จะไปชวนแกมบังคับนั้นคงไม่ง่ายนัก เนื่องจากการสร้างรถขึ้นมาสักรุ่น สักแบบมันใช้เงินมาก ใช้คนมาก ชิ้นส่วนรถมีมาก ไม่ใช่การปั้นกระถางต้นไม้ มีน็อตสกรูเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ตัว ทุกระบบล้วนต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตท่ีอาศัยประสบการณ์มานาน


ท่ีรัฐบาลต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น หากเขาอยากถ่ายทอดก็ทำมานานแล้ว นี่เอาแต่ประกอบ และเพิ่งมาผลิตเครื่องยนต์ แต่ก็ผลิตเพื่อรถในเครือของพวกเขาเอง เพื่อจำหน่าย หรือส่งไปยังศูนย์ประกอบในภูมิภาคอื่น หรือในประเทศอื่น ๆ สำหรับไทยดีที่คนงานฝีมือดี ค่าแรงไม่แพง และนิสัยดี


โครงการท่ีมีการผลักดันเหมือนหวังแค่การสร้างภาพให้รัฐบาลท่ีผ่านมาเท่านั้น ผู้รับผิดชอบก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา รมต.อุตสาหกรรม ไปแถลงเรื่องนี้ในงานโชว์เทคโนโลยีเครื่องไม้เครื่องมือผลิตแม่แบบ และแมชีนทูลท่ีสร้างเครื่องปั๊ม หรือหล่อขึ้นรูปชิ้นส่วนยังเผลอพูกออกมาท่ามกลางผู้ท่ีเกิดความหวังว่าจะมีรถแห่งชาติว่า "จะผลักดันเรื่องรถแห่งชาติ ถ้าไม่ถูกย้าย ถูกปลดเสียก่อน " ก็จริงอีกไม่นานเขาก็เปลี่ยนไปอยู่กระทรวงอื่น และรัฐบาลท่ีผ่านมาก็เอาผู้ท่ีไม่มีใครไว้วางใจมาเป็นรมต.อุตสาหกรรมแทน จนมีการปฎิวัติ แล้วก็เริ่มมีการพูดถึงรื่องนี้กันอีก

จากการท่ีเคยสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทรถยนต์ท่ีมาจากญี่ปุ่นเมื่อ 4 ปีก่อน เขาบอกว่าทางญี่ปุ่นไม่ได้สนใจเรื่องนี้ คือไม่คิดว่ามันจะมีผลอะไรต่อเขา เขามีรถเล็ก ๆ มีรถทุกแบบเพื่อขายทั่วโลกอยู่แล้ว

คล้าย ๆ ร้านอาหารซีฟู้ดชื่อดัง เขามีสูตรมีเมนูครบ แต่มีใครมาบอกว่าให้ช่วยทำอาหารแบบน้ำพริกหนุ่ม หรือส้มตำเพิ่มได้ไหม ?

มันเสียมาดของร้าน ของบริษัทเขา เป็นเรื่องของทุนนิยม ท่ีมีการต่อสู้มายาวนาน มีการแข่งขันรุนแรง ความจริงในโลกนี้มีรถยนต์มากแบบเกินไปเสียด้วยซ้ำ

แต่ท่ีต้องมีมากรุ่นมากแบบก็เพื่อรองรับความต้องการอันไม่มีขีดจำกัด เนื่องจากพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตท่ีเรียกว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ท่ีต้องการเสรีภาพ มีจิตใจท่ีเป็นศิลปิน ต้องมีอิสระทุกอย่าง ไม่ชอบถูกบังคับ

เช่นเดียวกันไม่มีใครชอบท่ีรถมีแต่ระบบเบสิก ๆ ความจริงในอินเดีย ในจีน มีรถมาดประหยัดสุด ๆ ให้เลือกมากพอสมควร

แต่หากทุกค่ายทุกยี่ห้อทำอย่างนั้นกันหมด ก็คงไม่เกิดการสร้างสรรค์ เกิดการต้าการขายท่ีสนองตอบต่อจิตนาการของมนุษย์ได้

หากเป็นอย่างนั้นก็คงไม่ต้องมีโชว์รูมท่ีสวยงาม ไม่ต้องมีงานโชว์รถ ทุกอย่างเงียบเหงา ขับรถรูปแบบซ่อมซ่อไปเรื่อย ๆ

มันก็ห่อเหี่ยวไป !

ผมเคยไปร่วมสัมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงทดแทน เช่นแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ปรากฎว่านักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยท่ีมาร่วมสัมนาต่างนำผลการวิจัยของพวกเขาทั้งหลายมาอธิบายให้ฟังว่าเท่าที่พวกเขาได้นำเครื่องยนต์ต่าง ๆ มาทดลองตามหลักวิชาการ มีผลออกมาว่ามีการกัดกร่อนตรงนั้นตรงนี้ มีอัตราความสิ้นเปลืองเท่านั้นเท่านี้ ขณะท่ีมีสัดส่วนผสมท่ีต่างกันไป หรือใช้น้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ มาลองเดินเครื่อง แล้วมีผลเป็นอย่างไรบ้าง

เป็นการโม้ประชันกันมากกว่า เป็นการนำเครื่องยนต์ทั่ว ๆ ไปมาทดลอง ไม่เห็นมีงานแสดงความก้าวหน้าในการพยายามท่ีจะสร้างเครื่องยนต์ท่ีใช้น้ำมันแบบใหม่ขึ้นมาสักครั้ง

ออกจากงานแล้วมึนกับศัพย์เทคนิกภาษาต่างด้าวไปหลายวัน นี่ขนาดผมเรียนเรื่องรถยนต์มาโดยตรงนะครับ คนอื่น ๆ ท่ีไม่รู้เรื่องยิ่งกว่าผม เขาคงแทบเป็นลมล้มตึง ก็ท่านอาจารย์ ท่าน ดร.ทั้งหลายเล่นพูดไทยปนฝรั่งกันเกือบทุกคน

การท่ีจะมุ่งหวังให้ยักษ์ใหญ่มาช่วยสร้างเมนูเล็กๆ ให้นั้น คงยาก มีแต่ยักษ์จะชอบจับผู้ด้อยกว่าเป็นมังสาหารเท่านั้น หรือว่ามียักษ์ใจดีหลงเหลืออยู่บ้าง ?

มีใครชี้แจงได้บ้างรถอีโคคาร์ หรือรถแห่งชาติจะคลอดได้เมื่อไหร่ ?

หรือว่าใช้แจ๊ส ใช้ยาริส ดีอยู่แล้วปล่อยให้โครงการในฝันมันแท้งไปตามธรรมชาติของประเทศที่ไม่มีความมั่นคงทางการเมืองอย่างท่ีเห็น ๆ อยู่ !?

หมายเหตุ.ภาพประกอบจากเบนซ์ รายละเอียดอื่น เชิญท่ี www.mercedes-benz.co.th