25 ส.ค. 2550

ขับ CAPTIVA ดีเซล 150 แรงม้า จากทองผาภูมิถึงเนินสวรรค์






ช่วงที่ 2 ทองผาภูมิ-เนินสวรรค์ 82.8 กิโลเมตร
*****************************************


82.8 กิโลเมตร ขับแบบต้องตื่นตัวตลอดเวลา ทางข้างหน้าเหมือนเกมส์แรลลี่ ผมไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร มีหลุมบ่อตรงไหน หรือทางจะลงขนาดไหนเมื่อพ้นทางโค้งออกไป อาจมีทางลงชัน ๆ พร้อมหินลอยท้าทายอยู่ก็ได้


เพื่อนร่วมทดสอบ 4 คน ขับไปแล้วหนึ่ง ผมเป็นคนขับช่วงที่ 2 (โดยได้รับการยินยอมและเชื้อเชิญจากคุณจาลึก เอี่ยมเจริญ เพื่อนคนนี้ท่านคงจำได้ เขาเคยทดสอบรถไทรตัน ผ่านทะเลทรายโกบีไปจีน มองโกเลีย ถึงรัซเซียมาแล้ว เป็นหมื่น ๆ กิโลเมตร บอกว่าจะขับช่วงที่ 3 จากเนินสวรรค์ถึงจุดพินิชที่ริมแม่น้ำแควน้อย)


เมื่อปรับระยะต่าง ๆ ของเบาะนั่ง เลื่อนด้วยไฟฟ้า ขึ้น-ลง หน้า-หลัง และปรับพนักพิง ให้เหมาะกับช่วงแขน ปรับพวงมาลัยให้กระชักมือแล้ว ก็เริ่มกันเลย


ขับไปสักครู่ยังไม่ถึงทางโหดฝนก็เริ่มโปรยปรายลงมา ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติทำงานทันที และเร่งสปีดได้เองเมื่อเม็ดฝนหนาแน่นขึ้น แต่ปัดน้ำฝนกระจกหลังต้องคอนโทรลเอง มันไม่เปิดเมื่อฝนตก


เส้นทางโดยรวมเป็นอย่างนี้ครับ


ออกจากปั๊มเชลล์ เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 2.2 กิโลเมตร ถึงสามแยกไฟแดง แล้วเลี้ยวขวาไปทางอำเภอสังขละบุรี-เกริงกาเวีย (ทางหลวงหมายเลข 323) ตรงไปข้ามสะพานห้วยอู่ล่อง เส้นทางช่วงนี้เป็นทางเรียบ 2 ช่องทาง สลับทางวิ่งขึ้น-ลงทางลาดชัน เป็นบางช่วง ก่อนเลี้ยวขวาตรงหน้าพุทโธ (พระพุทธรูปองค์ใหญ่ปรางพระธานพร) ไปอุทยานแห่งชาติเกริงกาเวีย (เกริงกาเวีย เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า บึงใหญ่) เมื่อผ่านด่านตรวจของอุทยาน แล้วเป็นทางลูกรังขรุขระ ทางหินลอย และทางวิบากเล็ก ๆ ไม่โหด


ช่วงแรกนี้เป็นทางขึ้น-ลงเขา ผมเลือกใช้เกียร์แบบเปลี่ยนเองไปก่อน เพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมแรงบิดตามที่เราต้องการได้ เมื่อมองเห็นเนินทางข้างหน้า แต่ในใบนำทางได้แนะนำว่า ใ้ห้เลือกใช้เกียร์ต่ำ เพื่อทดสอบอัตราเร่ง และแรงบิด ที่สามาถลุยผ่านทางลาดชันได้อย่างสบาย ๆ


ผมลองเปลี่ยนมาเป็นตำแหน่ง D บ้าง ให้เกียร์เลือกตำแหน่งเอง ก็ไปได้ราบรื่นดี แต่เมื่อเราผลักเกียร์ไปทางซ้าย เพื่อเข้าสู่โหมดเปลี่ยนสปีดเอง มันก็อยู่ในตำแหน่งเกียร์ต่ำ 2 หรือ 3 เหมือนที่เราคอนโรลเอง


ผมจึงกลับมาใช้เกียร์แบบเปลี่ยนเองเป็นส่วนมาก ยกเว้นทางผู้ควบคุมที่อยู่หน้าสุด (เบอร์ 00) แจ้งผ่านทางวิทยุสื่อสารในรถว่าให้ลองใช้เกียร์ D ดูตรงจุดนั้นจุดนี้ ก็ลองตามบ้าง


ในช่วงทางเริ่มมีหลุมบ่อมากขึ้น ผมปรับเลื่อนเบาะมาข้างหน้าอีกเล็กน้อย ให้มือ และแขนสองข้างสามารถควบคุมพวงมาลับได้คล่องขึ้น โดยช่วงศอกหย่อนนิดหน่อย


ทางแบบนี้เหมาะกับการคอนโทรลด้วยตัวเองจริง ๆ ครับ เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการขับ ก็ต้องปรับตามสไตล์ของตัวเอง


ช่วงนี้สามารถทดสอบระบบช่วงล่างอิสระ 4 ล้อ ได้ดี ระบบช่วงล่างหน้าแม็คเฟอร์สันสตรัท มีเหล็กกันโคลง และช่วงล่างหลังแบบมัลติลิ้ง 4 จุด มีเหล็กกันโคลง แถมระบบยกปรับระยะความสูงด้านท้ายอัตโนมัติ( เมื่อบรรทุกสัมภาระมาก ๆ ท้ายจะไม่ย่อนลงมาก)


จริง ๆ แล้วระบบปรับยกท้ายนั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการนอกจากปรับความสูงแล้ว ยังคอนโทรลโช้คอัพหลังทั้งซ้าย-ขวา เพื่อช่วยรักษาสมดุลให้มันอยู่ในระดับเดียวกัน ป้องกันอาการหน้าเชิด และทำให้การทรงตังดี เมื่อร่วมถึงการทำงานของระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบอัตโนมัติ (AWD:ACTIVE ON DEMAND) ซึ่งจะเปลี่ยนจากขับ 2 ล้อหน้าเป็น 4 ล้อ โดยอัตโนมัติ ซึ่งแน่นอนทางลื่น ลาดชัน ทางหินลอย เหล่านี้ต้องเป็นขับ 4 ล้อ แน่นอนอยู่แล้ว


ในเส้นทางหลายหายแบบออฟโรดช่วงที่ 2 นี้ ระบบเสริมแรงบิด (ACTIVE TORQUE ON DEMAND) ทำงาานกระจายแรงบิดที่เหมาะสมสู่ล้อทั้ง 4 ได้เหมาะกับพื้นผิวทางที่ล้อแต่ละล้ออาจจะอยู่ในภาวะที่ลื่น ขรุขระ หรือมีความฝืดต่างกัน เมื่อรวมระบบต่าง ๆ เหล่านี้ทำงานประสานกัน ทำให้ แคปติวา ดีเซล 2.0 ลิตร 150 แรงม้า ที่มี แรงบิด 320 นิวตันเมตร ที่ 2000 รอบ/นาที ตั้งแต่รอบต่ำ ๆ ไปได้ เหมือนขับบนถนนแห้ง


จากนั้นขับผ่านบ้านพุเยฯ ทุ่งนางครวญ และอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ไปเลี้ยวขวาที่ระยะทริปมิเตอร์รวมตั้งแต่ช่วงที่ 1 ที่ 162.8 กม. ไปทางโรงเรียนบ้านเหมืองสองท่อ ซึ่งเด็ก ๆ กำลังเลิกเรียนเดินบนถนนเป็นแถวน่ารักมาก เมื่อเราเปิดกระจกทักทายเด็ก ๆ ก็ยกมือไหว้กันเป็นแถว เด็กชนบทน่ารักอย่างนี้นี่เอง ส่วนหนึ่งคงเป็นกะเหรี่ยง


จากนั้นขับบนทางลูกรังไปจนสุดถนน เจอสามแยก เลี้ยวซ้าย แล้วก็ลี้ยวขวา ตรงไปอีก 1.9 กม. เลี้ยวซ้ายไปทางโรงเรียนวัดป่าถ้ำภูเตย ตรงไปอีก กม. ถึงทางแยกรูปตัววาย ก็ไปทางขวาโรงเรียนนี้เปิดสอบในป่าเขามาตั้งแต่ ปี 2524 เป็นโรงเรียนในหุบเขา มีป่าไม้หนาแน่น ในบริเวณเหมืองสองท่อ


จากนั้นวิ่งเลาะในทางเหมืองแร่เก่า ออกไปเชื่อมต่อโรงแต่งแร่เดิม ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น "เนินสวรรค์" เป็นสถานที่อดีตอันรุ่งโรจน์ของเหมืองสองท่อนี้ อยู่ในพื้นที่ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ ห่างจากถนนใหญ่ลึกเข้าไปในผืนป่าสงวน 40 กิโลเมตร


เขาเคยขุดแร่ตะกั่วกันระหว่าง 2535-2545 ก็ยังมีร่องรอยการขุดทำเหมือง หากดูจาก Google Earth จะเห็นว่าบริเวณนี้มีหลุมบ่อเหมืองแร่ท่ามกลางป่าเขาอย่างชัดเจน


ทำลายป่าไปพอสมควร แต่มันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีการให้สัมปทาน และก็หมดไปแล้วเมื่อ 5 ปี ก่อน อาจจะทิ้งความเสียหายให้ฝืนป่า และมีเส้นทางหลายสิบกิโลเมตรวนไปมา ตามภาพดาวเทียมก็เห็นว่ามันป่าทึบชัด ๆ แต่มีทางลูกรังทางดิน เข้าไปเหมือนใยแมงมุม


ที่เนินสวรรค์นี่เองที่ผมเดินไปเดินมา ตามซุ้มอาหารต่าง ๆ ท่ามกลางละอองฝนในป่า เกือบครึ่งชั่งโมง เสื้อผ้าชื้นไปหมด เมื่อกลับถึงที่พักช่วงดึก ๆ จึงมีอาการหวัดเกิดขึ้น เมื่อทานยาแก้หวัดก็ง่วงนอน ทำให้การรายงานล่าช้าอย่างที่ว่า


ชมเนินสวรรค์ที่เปียกชื้น พร้อมกับอาหารจานปิ้งย่างแบบหรูสไตล์เชพวี ทั้ง ๆ ทั่อยู่ในป่า ให้ความรู้สึกตื่นเต้นพอสมควร นี่หากเป็นหน้าหนาวคงโรแมนติกน่าดู


จุดที่เรียกว่าเนินสวรรค์นี้ อยู่ในพื้นที่ของหน่วยพิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ใน Google Earth สามารถค้นหาเจอครับ


***************************************


ในช่วง 2 82.8 กิโลเมตร ในความควบคุมของผม ได้ทดสอบทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันการลื่นไถล TCS (TRACTION CONTROL SYSTEM) ซึ่งจะทำงานประสานกัน 2 อย่าง คือไปลดแรงขับที่ล้อที่ทำท่าว่าจะหมุนฟรีให้มีแรงบิดพอเหมาะ ไม่มากจนล้อใดล้อหนึ่งปั่นฟรีทำใฟห้เสียการทรงตัว เมือ่ทำงานกับระบบ AWD (ACTIVE ON DEMAND) หรือระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ อัตโนมัติ ที่จะกระจายแรงขับสู้ล้อต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นผิวทางขณะนั้น ๆ


เมื่อมีระบบ ARP (ACTIVE ROLLOVER PROTECTION )ประสานเข้ามาเพื่อป้องนการพลิกคว่ำ จากการหักพวงมาลัยหลบสิ่งกีดขวาง หรือการตั้งใจหักพวงมาลัยทดสอบบาางแบบต่าง ๆ ซึ่งทางลื่น ๆ ผมได้ก็ปุ่มให้ระบบเหล่านี้ทำงาน มันจะไปควบคุมการกระจายแรงเบรกให้เหมาะสมทั้ง 4 ล้อ เพื่อป้องกันอาการปักเป่อย่างได้ผมชะงัด หากไม่เร็วมากระบบนี้ควมคุมได้แน่นอน แต่เร็วมาก ๆ มีแรงหเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมหาศาลก็คงเอาไม่อยู่เหมือนกัน


ระบบ HDC (HILL DECENT CONTROL) ระบบนี้เป็นระบบที่ผู้ใช่อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร ผมก็ได้ทดสอบ สองสามครั้งในทางลงชัน ๆ เมื่อเรากดปุ่มนี้ก็จะมีไฟแสดงสถานะที่หน้าปัด เราก็ปล่อยรถไหลลงไป จะมีเสียงดังอื๊ดดดด เป็นช่วง ๆ จากากรทำงานการสั่งการให้เครื่องยนต์และเบรกทำงานประสานกันโดยอัตโนมัติ โดยเราไม่ต้องแตะเบรกตลอดเวลา


ระบบนี้เหมาะสมกับการขับลงเขานาน ๆ เช่น ดอยอินทนนท์ ที่ขาลง จะลงตลอด ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน เชียงรายก็เหมาะสมมากกับระบบนี้ เนื่องจากเป็นการควบคุมแรงเบรกด้วยเครื่องยนต์ และระบบเบรกที่เหมาะสม ไม่ทำให้เบรกเสียกาย หรือร้อนจัด


*************************************
สรุปแล้วบททางออฟโรดแบบไม่โหดหนักแบบนี้ หากไปเดี่ยว ๆ คันเดียว หรือขับระยะห่างกันมาก ๆ ก็สามารถไปได้รวดเร็วเป็นสองหรือสามเท่า ได้อย่างปลอดภัย หากขับรถชำนาญทางออฟโรดถือว่าง่ายมาก และคงไม่ต้องใช้เวลา ถึง 120 นาที หรือ สองชั่วโมงอย่างทริปนี้


************************************


จากนั้นก็เป็นช่วงทุดท้าย 77.9 กิโลเมตร จากเนินสวรรค์-ท่าเทียบเรือ ริโซเทล ริมแม่น้พแควน้อย 70 นาที โดยคุณจาลึก เอี่ยมเจริญ แห่ง นิตยสาร ออฟโรดขับต่อไป


ช่วงนี้ผมกลับมานั่งหลังซ้าย ให้นักข่าวสังเกตการ์จากกรังด์ปรี์ ไปนั่งหน้าซ้าย


เริมด้วยทางลงเขา ที่ทดสอบระบบ HDC ได้ดี ก็มีเสียอื๊ดดดด ไปเป็นระยะ ๆ หน่วงลดความเร็วโดยไม่ต้องเหยียบเบรก เครื่องยนต์จะลดรอบลลงเอง


เดินทางลงเนินสวรรค์มุ่งสู่หมุ่บ้านสะพานลาว ผ่านนิคมสหกรณ์ฯ กม.109 แล้วเลี้ยวซ้ายที่ระยะ 220.1 กม. สู่ทางหลวงแผ่นดิน 323 เหมือนเดิม มุ่มหน้าสู่เมืองกาญจนบุรี ที่หลัก กม. 54.5 เข้าสู่ท่าเทียบเรือรีโซเทลฯ ลงเรือหางยาวในแม่น้ำแควน้อยที่กำลังไหลแรงด้วยน้ำฝน ขุ่นสีกาแฟใส่นม ไปจบที่รีโซเทล รีสอร์ท อันสวยงาม ท่ามกลางป่า และสายน้ำ ท่ีมีหน้าผาอยู่ฝั่งตรงข้าม


เย็นมากแล้วก็เข้าสู่สรุปผลการทดสอบ สู่งานเลี้ยงที่ดูเท่ห์ ด้วยบอดี้เวิร์กของเหล่านักยิมนาสติกลีลา ระดับทีมชาติอันงดงาม เคล้าด้วยแจ๊สสไตล์ทรรีโอที่คึกคัก


เล่นเอาเลือดฉีดแรงด้วยเบียร์อเมริกันแท้ บั๊ดไวเซอร์ขวดเล็ก ไม่ต้องมีแก้ว


งานนี้ได้สัมผัสผู้บริหารคนใหม่อยู่ใกล้ชิด ผมได้สัมผัสมือกับ Mr.Steve Carlisle ประธานกรรมการ จีเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชียตะวัยออกเฉียงใต้ และประธาทบริษัท เจนเนอร์รัล มอเตอร์ ( ประเทศไทย) จำกัด สองสามรอบตั้งแต่บนรถไฟ และหลังจากงานเลี้ยงเลิกลาแล้ว


บ๊อสใหม่ของ จีเอ็ม คนนี้ ชอบลุย และพบปะสื่ออย่างกันเองมาก พยายามศึกษามาดไทย ๆ ทักทายสวัสดีชัดเจน อีกสักระยะ คงเป็นที่คุ้นเคยกับผู้สื่อข่าวทุก ๆ คน


*****************************************